top of page

ไขข้อสงสัย ภาวะเปลือกตาม้วนออก (Ectropion) คืออะไร พร้อมวิธีรักษา

Ectropion คือ ภาวะเปลือกตาม้วนออก ทำให้เยื่อบุตาสัมผัสกับอากาศมากขึ้น เกิดการระคายเคืองง่าย และเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ซึ่งการรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงด้วย Ectropion มีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง สามารถรักษาได้อย่างไร ติดตามได้ในบทความนี้ 

ภาวะ Ectropion คืออะไร

Ectropion คือ ภาวะความผิดปกติหนึ่ง ที่เกิดขึ้นกับเปลือกตา เป็นภาวะเปลือกตาม้วนออก แบออกมาข้างนอก ทำให้เนื้อเยื่อหนาขึ้น เยื่อบุตาแห้งได้ง่าย เพราะรูน้ำตาแบออกมาสัมผัสกับอากาศภายนอกมากกว่าปกติ ทำให้เสี่ยงที่จะเกิดภาวะร้ายแรงได้

อาการของภาวะ Ectropion

อาการของภาวะ Ectropion 

Ectropion ภาวะความผิดปกติของเปลือกตา โดยมีอาการที่สังเกตได้ชัดเจน ดังนี้ 

  • ตาระคายเคือง ภาวะเปลือกตาม้วนออก ที่ส่งผลให้มีอาการระคายเคืองตาได้ง่าย เพราะเนื้อเยื่อของด้านในของเปลือกตาสัมผัสอากาศ และสิ่งสกปรกมากกว่าปกติ 

  • ตาไวต่อแสง ภาวะเปลือกตาม้วนออก ทำให้เยื่อบุตา และกระจกตาสัมผัสกับแสงแดด ลม และฝุ่นละอองโดยตรง สิ่งเหล่านี้อาจระคายเคืองตา ทำให้เกิดอาการแสบตา น้ำตาไหล ตาแดง และไวต่อแสง

  • น้ำตาไหล ภาวะเปลือกตาม้วนออกทำให้เกิดน้ำตาไหลได้ง่าย เพราะรูน้ำตาที่เปลือกตาออกมาสัมผัสกับอากาศ ส่งผลให้เกิดการระคายเคือง

  • ตาแห้งเกินไป เพราะเยื่อบุเปลือกตาสัมผัสกับอากาศนานเกินไป จึงสูญเสียความชุ่มชื้น ส่งผลให้ตาแห้งเกินไป

สาเหตุของภาวะ Ectropion

สาเหตุของภาวะ Ectropion 

ภาวะเปลือกตาม้วนออก (Ectropion) มีสาเหตุที่เกิดได้จากทั้งปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอก รวมถึงอายุที่มากขึ้นด้วย ดังนี้

ความผิดปกติทางพันธุกรรม

เป็นสาเหตุที่เกิดจากปัจจัยภายใน โดยเกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม ที่ส่งผลต่อโครงสร้างเปลือกตา โดยเฉพาะเนื้อเยื่อเกี่ยวพันทั่วร่างกาย รวมถึงเปลือกตา ทำให้เปลือกตาอ่อนแอ และหย่อนคล้อย ซึ่งสามารถถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูกได้ โดยรูปแบบการถ่ายทอดจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับความผิดปกติทางพันธุกรรม

กล้ามเนื้ออ่อนแรง

กล้ามเนื้อเปลือกตาอ่อนแรง เป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะ Ectropion ส่งผลให้เปลือกตาหย่อนคล้อย และเปิดออก เผยให้เห็นด้านในของเปลือกตา และเยื่อบุตา โดยกลไกการทำงานของกล้ามเนื้อรอบดวงตา ทำหน้าที่ดึงเปลือกตาให้เปิด และปิด แต่เมื่อกล้ามเนื้อเหล่านี้อ่อนแรง เปลือกตาจะไม่สามารถเปิด หรือปิดได้สนิท ส่งผลให้เปลือกตาหย่อนคล้อย ตาแห้ง ระคายเคือง และอาจเกิดภาวะ Ectropion ได้

อัมพาตที่ใบหน้า

อัมพาตที่ใบหน้า หรือที่เรียกว่า Facial Paralysis ส่งผลต่อกล้ามเนื้อใบหน้า รวมถึงกล้ามเนื้อรอบดวงตา ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะเปลือกตาม้วนออกได้ ซึ่งสาเหตุมาจากโรคประจำตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โรคหลอดเลือดสมอง โรคติดเชื้อ เนื้องอก รวมทั้งการได้รับบาดเจ็บที่ใบหน้า

การเปลี่ยนแปลงของเปลือกตา

เมื่ออายุมากขึ้น เปลือกตาจะเกิดการเปลี่ยนแปลง โดยกล้ามเนื้อเกิดความหย่อนคล้อยมากขึ้น ส่งผลให้เกิดภาวะ Ectropion ซึ่งก็คือภาวะที่เปลือกม้วนออก ทำให้เกิดการระคายเคืองตาได้ง่าย และดวงตาไวต่อแสง

ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดเปลือกตา

ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดเปลือกตา ส่งผลต่อการเกิดภาวะ Ectropion ได้ ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ได้แก่ การดึงรั้งของแผลเป็น การสูญเสียเนื้อเยื่อ รวมถึงความเสียหายของกล้ามเนื้อ ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาด และตำแหน่งของรอยแผลเป็น เทคนิคในการผ่าตัด และการสมานแผลของแต่ละคน ดังนั้น เพื่อไม่ให้เกิดภาวะนี้ จึงควรป้องกันโดยการเลือกแพทย์ที่ทำการผ่าตัดเปลือกตา เป็นจักษุแพทย์ตกแต่งที่มีประสบการณ์ในด้านนี้โดยเฉพาะ เพราะถ้าหากถึงขั้นแก้ไข จะเป็นเรื่องยากกว่าแน่นอน

ความต่างระหว่างภาวะ Ectropion กับ Entropion

ภาวะ Ectropion และ Entropion คือภาวะผิดปกติ ที่ทำให้เกิดภาวะเปลือกตาม้วนเหมือนกัน แต่แตกต่างกันที่ Ectropion คือภาวะเปลือกตาม้วนออก ส่วน Entropion คือภาวะเปลือกตาม้วนเข้า ซึ่งทั้ง 2 ภาวะนี้ ส่งผลให้เกิดความผิดปกติตามมาได้ ไม่ว่าจะเป็นกระจกตาอักเสบ หรืออาจร้ายแรงถึงขั้นสูญเสียการมองเห็น หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง

ด้วยลักษณะของ Ectropion กับ Entropion มีความแตกต่างกัน วิธีการรักษาจึงแตกต่างกันด้วย ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาหาร โดยการผ่าตัดรักษาภาวะ Ectropion เป็นการรักษาให้เปลือกตากลับมาปกติ โดยการผ่าตัดยึดกล้ามเนื้อเปลือกตาให้แน่นขึ้น เพื่อดึงเปลือกตาให้กลับมาอยู่ในตำแหน่งปกติ ส่วนการผ่าตัดรักษา Entropion เป็นการผ่าตัดที่เรียกว่า Entropion Correction คือการรักษาให้กล้ามเนื้อตาที่ม้วนเข้าออกมาเป็นปกติ 

การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดรักษาภาวะ Ectropion

การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดรักษาภาวะ Ectropion สามารถเตรียมตัวล่วงหน้าได้ ดังนี้

  •  แจ้งประวัติการแพ้ยา ประวัติการเกิดอุบัติเหตุ รวมถึงการผ่าตัดตา การทำหัตถการเกี่ยวกับดวงตาให้เจ้าหน้าที่ทราบ

  • จักษุแพทย์ตกแต่งจะตรวจประเมินวิธีการรักษา ที่แตกต่างกันตามสาเหตุ และปัจจัยในแต่ละคน

  • งดยาละลายลิ่มเลือด ยาแก้ปวดชนิดไอบูโพรเฟน อาหารเสริมต่างๆ 2 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด แต่สามารถกินวิตามินอี และยาแก้ปวดพาราเซตามอลได้ตามปกติ

  • งดกินอาหารหมักดอง อาหารสุกๆ ดิบๆ 

  • งดเครื่องดื่มประเภทชา และกาแฟในวันผ่าตัด

  • งดแต่งหน้า งดเครื่องสำอางทุกชนิด แต่สามารถลงสกินแคร์ได้

  • หากมีอาการผิดปกติ เช่น หน้ามืด มึนหัว เวียนหัว ควรรีบแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบ

  • ควรมีคนติดตามมาด้วยในวันผ่าตัด  

ารดูแลตัวเองหลังผ่าตัดรักษาภาวะ Ectropion

การดูแลตัวเองหลังผ่าตัดรักษาภาวะ Ectropion

วิธีการดูแลแผลหลังผ่าตัดรักษาภาวะ Ectropion คือวิธีดูแลแผลแบบผ่าตัดเล็ก ดังนี้ 

  • นอนยกศีรษะสูงเล็กน้อย 

  • ประคบเย็นรอบแผลผ่าตัด 3 วันแรกหลังผ่าตัด 

  • ทำความสะอาดแผลด้วยไม้พันสำลีชุบน้ำยาเช็ดคราบเลือด และสิ่งสกปรกออก ทำความสะอาดวันละ 2-3 ครั้ง หากไม่มีคราบสกปรกให้ทายา หรือหยอดยาที่แพทย์สั่งให้แทน

  • กินยาตามคำสั่งของแพทย์ให้ครบ

  • หากเกิดอาการผิดปกติ ให้หยุดกินยา และรีบพบแพทย์ทันที

  • งดแต่งหน้า งดออกกำลังกาย งดยกของหนัก 2 สัปดาห์หลังทำ และ 2 สัปดาห์หลังการตัดไหม

  • งดกินอาหารที่มีรสเค็ม อาหารทะเล รวมถึงอาหารโซเดียมสูง

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นหลังผ่าตัดรักษาภาวะ Ectropion

หลังการผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะ Ectropion แล้ว อาจมีผลข้างเคียงเกิดขึ้นได้ ซึ่งเป็นเรื่องปกติ ไม่ว่าจะเป็นอาการบวม การมีแผล การอักเสบ ในช่วง 1 เดือนแรก แต่หากมีอาการผิดปกตินอกเหนือจากนี้รุนแรง หรือผลข้างเคียงนั้นไม่หาย ควรได้รับการรักษาจากแพทย์ผู้ผ่าตัดอย่างต่อเนื่อง 

ผลข้างเคียงที่ไม่รุนแรง

  • เปลือกตาอาจบวม แต่ปกติจะยุบในระยะเวลาราว 1 เดือน และอาการตาแดง มีเลือดออกในตาขาว จะหายเองได้ ไม่เป็นอันตราย

  • อาการตาแห้ง แต่มีวิธีแก้ไขคือการปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ใช้ยาหยอดตาที่แพทย์แนะนำอย่างสม่ำเสมอ 

  • อาการระคายเคืองตา จากแผลที่กำลังหาย หรือตาแห้ง  ซึ่งมักจะหายไปเองได้

  • การมองเห็นผิดเพี้ยนชั่วคราว จากการบวมช้ำ เปลือกตา การมองเห็น จะกลับมาเป็นปกติเมื่อแผลหายดี

  • รอยแผลเป็นที่เปลือกตา แต่มักจะจางลงไปเองตามธรรมชาติ

  • การติดเชื้อ แพทย์จะสั่งยาปฏิชีวนะ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ ควรกินให้ครบตามคำแนะนำของแพทย์

  • อาจมีเลือดออกเล็กน้อย ซึ่งเป็นเรื่องปกติหลังการผ่าตัด แต่หากมีเลือดออกมาก อาจต้องรีบรักษา จึงควรรีบพบแพทย์โดยด่วน

ผลข้างเคียงที่รุนแรง 

  • ความเสียหายของกล้ามเนื้อตา เช่น เปลือกตาตก หรือการมองเห็นเป็นสองชั้น

  • แผลที่กระจกตา ป้องกันได้โดยการใช้ยาหยอด หรือยาป้ายที่แพทย์แนะนำ 

  • การติดเชื้อรุนแรง มักเกิดจากการดูแลแผลไม่ดี หรือผู้ที่ได้รับการผ่าตัดมีภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติ  

การป้องกันไม่ให้เกิดภาวะ Ectropion อีกหลังผ่าตัด

โดยทั่วไปแล้ว การป้องกันไม่ให้เกิดภาวะ Ectropion จะช่วยลดโอกาสกลับไปสู่สภาวะ Ectropion อีกครั้งได้

  • ห้ามขยี้ตา

  • สวมแว่นกันแดดเมื่อออกนอกบ้าน

  • กรณีมีการเปลี่ยนแปลง ให้กลับมาพบแพทย์โดยเร็ว 

วิธีเลือกคลินิกสำหรับการรักษาภาวะ Ectropion

มาดูวิธีเลือกคลินิกสำหรับการรักษา Ectropion กัน เพื่อผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ และหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้

คลินิกได้รับมาตรฐานจากกระทรวงสาธารณสุข

เรื่องของความสะอาด เรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่คุณควรใส่ใจเป็นอันดับแรกๆ ของการเลือกใช้บริการคลินิกสำหรับศัลยกรรม เพราะคลินิกที่ดี ควรมีการฆ่าเชื้อในอุปกรณ์ และสถานที่ที่ให้บริการ เพื่อให้การผ่าตัดศัลยกรรมนั้นปลอดเชื้อ ลดอัตราการติดเชื้อให้ได้มากที่สุด

จักษุแพทย์มีประสบการณ์ ตรวจสอบได้

คนที่ต้องการศัลยกรรม จะต้องเข้ารับการผ่าตัดกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มีประสบการณ์โดยตรง ได้รับการรับรองจากแพทยสภา และเป็นผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างของกล้ามเนื้อบริเวณรอบดวงตา อีกทั้ง จะเป็นผู้เลือกใช้เทคนิคการผ่าตัด เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดให้กับผู้เข้ารับการผ่าตัด หากคุณเข้ารับการผ่าตัดกับแพทย์ที่ขาดประสบการณ์ อาจทำให้การศัลยกรรมมีโอกาสผิดพลาด และเสี่ยงทำให้รูปตาผิดปกติได้ 

รักษาภาวะ Ectropion ที่เศาณานนท์คลินิก (Saonanon) ดีกว่าอย่างไร

ด้วยประสบการณ์ของทีมจักษุแพทย์ตกแต่ง และเสริมสร้าง ที่พร้อมให้คำปรึกษาในการผ่าตัดเปลือกตา เพื่อความสวยงาม และการรักษาโรค นอกจากนี้ ยังพร้อมให้คำแนะนำเทคนิคที่เหมาะสมกับคนไข้ ที่มีความกังวลเกี่ยวกับดวงตาที่แตกต่างกัน ทำให้คนที่ไม่เคยศัลยกรรมมาก่อน สามารถเห็นภาพรวมของการศัลยกรรม และเลือกเทคนิคที่ตอบโจทย์กับปัญหาดวงตาที่เป็นอยู่ได้ รวมถึงได้ผลลัพธ์ที่พึงพอใจ 

ผ่าตัดรักษาภาวะ Ectropion ที่เศาณานนท์คลินิก (Saonanon) ดีกว่าที่อื่น เพราะคลินิกมีจุดเด่นดังต่อไปนี้

  • มีทีมจักษุแพทย์ตกแต่ง มากประสบการณ์คอยแนะนำ

  • มีแพทย์ที่ชำนาญด้านการผ่าตัดเปลือกตาโดยเฉพาะ ทุกเคสจะผ่าตัดโดยรศ. พญ. เปรมจิต เศาณานนท์ แพทย์จักษุตกแต่ง และทีมแพทย์จาก รพ. จุฬา 

  • คลินิกสะอาด ได้มาตรฐาน

  • มีรีวิวศัลยกรรม ให้เทียบดูความแตกต่าง ระหว่าง Before-After

รีวิวรักษาภาวะ Ectropion ที่เศาณานนท์คลินิก (Saonanon)

รีวิวรักษาภาวะ Ectropion ที่เศาณานนท์คลินิก (Saonanon)
รีวิวรักษาภาวะ Ectropion ที่เศาณานนท์คลินิก (Saonanon)
รีวิวรักษาภาวะ Ectropion ที่เศาณานนท์คลินิก (Saonanon)

สรุป

Ectropion คือ ภาวะเปลือกตาม้วนออก ทำให้เยื่อบุตาสัมผัสกับอากาศมากขึ้น เกิดการระคายเคืองง่าย และเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ซึ่งการรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงด้วย Ectropion มีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย ทั้งปัจจัยภายใน ความผิดปกติทางพันธุกรรม อายุที่มากขึ้น รวมไปถึงปัจจัยภายนอก อย่างการประสบอุบัติเหตุ การผ่าตัดศัลยกรรมเปลือกตาที่ไม่ได้มาตรฐาน ล้วนส่งผลให้เกิดปัญหาภาวะเปลือกตาม้วนออกทั้งสิ้น 

ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้อาจมีปัญหาตามมามากมาย กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และอาจร้ายแรงถึงขั้นสูญเสียการมองเห็นในอนาคตได้ หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องโดยเร็วโดยจักษุแพทย์ที่มากประสบการณ์ สามารถแก้ไขได้ด้วยการผ่าตัด เพื่อรักษาเปลือกตาม้วนออกอย่างมีประสิทธิภาพ ให้เศาณานนท์คลินิก (Saonanon) ช่วยดูแล เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี และให้ปัญหาที่เคยมีหมดไป

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับภาวะ Ectropion (FAQs)

ในเนื้อหาส่วนนี้ ได้รวบรวมคำถามที่ผู้คนส่วนมากที่สนใจเกี่ยวกับภาวะ Ectropion หรือภาวะเปลือกตาม้วนออก หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ใครที่สนใจ และวางแผนรักษาภาวะ Ectropion  คำถาม-คำตอบในส่วนนี้จะเป็นประโยชน์ในการใช้ตัดสินใจได้ดีทีเดียว

อาการของภาวะ Ectropion แบบไหนที่ควรรีบไปพบแพทย์?

เมื่อมีอาการเปลือกตาม้วนออก ส่งผลให้รู้สึกตาแห้ง แสบตาง่าย ดวงตาไวต่อแสง หรืออาการรุนแรงอย่างการติดเชื้อ มองเห็นผิดเพี้ยน มีแผลเกิดขึ้นที่กระจกตา 

ภาวะ Ectropion รักษาหายถาวรไหม?

การผ่าตัดรักษาภาวะ Ectropion ให้หาย ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของปัญหาเปลือกตาที่เป็นอยู่ด้วย 

ถ้าไม่รีบรักษาภาวะ Ectropion จะส่งผลอย่างไร?

หากไม่รีบรักษาภาวะ Ectropion อาจส่งผลให้เกิดความอันตรายร้ายแรงถึงขั้นสูญเสียการมองเห็นได้


ดู 62 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page