คนที่มีตาปรือ ตาง่วงนอน ใบหน้าดูไม่สดใส ดูอ่อนล้า เหมือนคนง่วงนอนตลอดเวลา อาการนี้หากปล่อยไว้นาน ไม่รีบทำการรักษาอาจก่อให้เกิดอันตรายกว่าที่คิด ทำให้เกิดปัญหาหลายอย่างตามมา เช่น สายตาเอียง ตาพร่ามัว มองเห็นไม่ชัด อาการตาปรือมีวิธีการสังเกตอย่างไร แล้วตาปรือ ตาง่วง ศัลยกรรมเพื่อรักษาได้หรือไม่ บทความนี้มีคำตอบ
ตาปรือ ตาง่วงนอน มีลักษณะอย่างไร
ตาปรือ ตาง่วงนอน คือ อาการที่หนังตาด้านบนตกลงมา โดยอาจหย่อนลงมาเพียงเล็กน้อย หรือตกลงมามากจนปิดตาดำ สามารถพบอาการตาปรือได้ทั้งสองข้าง หรือเพียงข้างเดียวก็ได้ ผู้ที่มีดวงตาปรือ หรือตาง่วงนอน จะมีใบหน้าที่ดูเหมือนคนง่วงนอนตลอดเวลา ดูอ่อนเพลีย หน้าตาไม่สดใส ดวงตาดูเล็ก หน้าดูแก่กว่าวัย ทำให้เสียบุคลิกภาพ และขาดความมั่นใจ ไม่กล้ามองหน้า หรือสบตาผู้คน ในรายที่หนังตาตกลงมามากจนปิดตาดำ จะส่งผลต่อการมองเห็นได้ โดยสามารถพบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่
สังเกตอาการตาปรือ
ใครที่กำลังสงสัยว่าตนเองนั่นมาลักษณะตาปรือ หรือตาง่วงนอนหรือไม่ มีวิธีการสังเกตอาการ ดังนี้
มีอาการตาแห้งมาก
น้ำตาไหลมากกว่าปกติ
ใบหน้าดูอ่อนเพลีย ไม่สดใส เหมือนง่วงนอนตลอดเวลา
มักเอียงศีรษะไปด้านหลัง เชิดคาง หรือ เลิกคิ้วขึ้น เวลามอง หรือพูดคุย
อาจมีอาการปวดบริเวณรอบดวงตา
มีดวงตา และคิ้วทั้งสองข้างไม่เท่ากัน
มองเห็นชั้นตาซ้อนกันหลายชั้น
ดวงตาไม่เปิดกว้าง ดูลึกโบ๋
ปัญหาตาปรือ อันตรายกว่าที่คิด!
ใครว่าอาการตาปรือเหมือนคนง่วงนอนส่งผลทำให้เสียบุคลิกภาพ ทำให้ขาดความมั่นใจเท่านั้น แท้จริงแล้วอาการตาปรือมีอันตรายมากกว่าที่คิด หากปล่อยทิ้งไว้นานโดยไม่ทำการรักษา อาจทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้
เกิดอาการสายตาเอียง เมื่อเปลือกตาตกลงมากดบริเวณกระจกตาดำ อาจทำให้รูปร่างของดวงตาเปลี่ยนไป ไม่โค้งเป็นทรงกลมเหมือนเดิม จึงส่งผลทำให้เกิดภาวะสายตาเอียงได้
เกิดเป็นโรคตาขี้เกียจ เมื่อเปลือกตาตกลงมาบดบังการมองเห็น ทำให้มองเห็นไม่ชัด ไม่ได้ใช้สายตาในการมองเห็นตามปกติ จึงส่งผลทำให้สมองเรียนรู้ที่จะไม่สนใจภาพอีกต่อไป การมองเห็นจะค่อยๆ แย่ลงในระยะยาว
การแหงนหน้าหรือเอียงคอมองในเด็ก (Chin up position) เด็กที่มีเปลือกตาตก จะพยายามเอียงคอไปทางด้านหลัง เชิดคางขึ้น เพื่อให้มองเห็นได้ชัดขึ้น อาจทำให้เกิดปัญหาบริเวณส่วนของศีรษะและลำคอ มีการเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณหน้าผาก และพัฒนาการต่างๆ ล่าช้าลง
สาเหตุตาปรือ เกิดจากอะไร
ตาปรือเหมือนคนง่วงนอน เกิดขึ้นมาได้จากหลายสาเหตุ ดังต่อไปนี้
1. พันธุกรรม
อาการตาง่วงนอนจากพันธุกรรม สามารถพบได้ตั้งแต่เด็ก เกิดจากการที่คนในครอบครัวมีประวัติเป็นตาปรือ อาการตาปรือที่พบในเด็กจากพันธุกรรม ควรรีบทำการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะอาจพัฒนาไปเป็นตาขี้เกียจได้ในภายหลัง ทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับสายตาและการมองเห็น
2. อายุที่มากขึ้น
เมื่ออายุมากขึ้น กล้ามเนื้อยกเปลือกตาจะเกิดการหย่อนคล้อยตามวัย ผิวหนังบริเวณดังกล่าวเกิดการยืดตัว ส่งผลทำให้หนังตาตกลงมา เกิดเป็นภาวะตาปรือได้
3. กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง เป็นภาวะที่เปลือกตาด้านบนหย่อนลงมากกว่าปกติ เนื่องจากกล้ามเนื้อยกเปลือกตาทำงานได้ไม่เต็มที่ ทำให้ลืมตาไม่สุด เปลือกตาจึงหย่อนลงมาปิดตาดำ ทำให้เห็นตาดำไม่ครบวง มีปัญหาด้านการมองเห็น เช่น มองเห็นไม่ชัด เห็นภาพซ้อน เป็นต้น กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดขึ้นมาได้จากหลายสาเหตุ ทั้งจากพันธุกรรม และเกิดขึ้นมาในภายหลัง เช่น เกิดอุบัติเหตุ อายุที่เพิ่มขึ้น เป็นต้น
4. พฤติกรรมทำร้ายดวงตา
พฤติกรรมทำร้ายดวงตาต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อกล้ามเนื้อดวงตา และผิวรอบดวงตา ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดตาง่วงนอนได้เช่นกัน เช่น ขยี้ตาอย่างรุนแรง อยู่ในภาวะที่ทำให้เกิดการระคายเคืองดวงตาเป็นประจำ ใส่คอนแทคเลนส์เป็นเวลานาน ใช้สายตามากเกินไป เช่น จ้องคอมพิวเตอร์ อ่านหนังสือ เล่นมือถือ ดูทีวี จนทำให้กล้ามเนื้อตาอ่อนล้า เป็นต้น
5. อุบัติเหตุ
การเกิดอุบัติเหตุที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บบริเวณผิวรอบดวงตา เส้นประสาทตา หรือกล้ามเนื้อยกหนังตา รวมทั้งการเกิดอุบัติเหตุที่สมองบริเวณเส้นประสาทที่ควบคุมกล้ามเนื้อตา ทำให้กล้ามเนื้อและเส้นประสาทตาทำงานผิดปกติ จะส่งผลทำให้เกิดตาปรือในภายหลังได้
6. การทำตาสองชั้น
การผ่าตัดตาสองชั้น ทำให้เกิดการบาดเจ็บ หรืออักเสบบริเวณกล้ามเนื้อเปลือกตา รวมไปถึงการผ่าตัดโดยแพทย์ที่ไม่ชำนาญการ อาจส่งผลทำให้เกิดตาปรือได้
วินิจฉัยตาปรือโดยจักษุแพทย์ ทำได้ยังไง
หากสงสัยว่าตัวเองเป็นตาง่วงนอนหรือไม่ ควรเข้าพบจักษุแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยอย่างละเอียด โดยการวินิจฉัยตาปรือมีขั้นตอนดังนี้
สอบถามในเบื้องต้น เช่น ประวัติการรักษา และอาการเจ็บป่วยที่ผ่านมา มีคนในครอบครัวเป็นตาปรือหรือไม่ ประวัติการทำตาสองชั้น รวมทั้งตรวจดูลักษณะภายนอกก่อน
หลังจากนั้นจักษุแพทย์จะทำการตรวจสุขภาพโดยรวมของดวงตาด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า Slit lamp ซึ่งเป็นกล้องจุลทรรศน์แบบพิเศษที่ใช้แสงสว่างความเข้มข้นสูง ทำให้สามารถมองโครงสร้างภายนอก และภายในดวงตาแบบ 3 มิติ
การตรวจสอบลานสายตา (Visual field) หรือขอบเขตพื้นที่การมองเห็นภาพเมื่อสายตามองตรงไปข้างหน้า ผู้ที่มีลานสายตาผิดปกติ จะทำให้การมองเห็นภาพไม่ครอบคลุมพื้นที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้
ตรวจการเคลื่อนไหวของดวงตา เพื่อตรวจดูว่าลูกตามีการเคลื่อนไหวที่ปกติหรือไม่ หากการเคลื่อนไหวของลูกตาผิดปกติจะทำให้การมองเห็นภาพไม่ต่อเนื่อง
ตรวจ Tensilon test เพื่อวินิจฉัยว่าตาปรือนั้นเกิดจากภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงชนิด Myasthenia Gravis หรือไม่ โดยจักษุเแพทย์จะทำการฉีดสารที่เรียกว่า Tensilon เข้าไปในเส้นเลือด แล้วให้คนไข้ไขว้ขาไปมา และลุกนั่ง แล้วตรวจดูลักษณะการทำงานของกล้ามเนื้อ หากตาปรือดีขึ้นชั่วขณะแสดงว่าตาปรืออาจเกิดจากภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง (การตรวจ Myasthenia Gravis ในปัจจุบันจะใช้กับคนไข้ที่มีประวัติ หรือมีอาการที่สื่อว่ามีความเสี่ยงเป็นภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงชนิดนี้เท่านั้น)
ในบางรายอาจต้องทำการวินิจฉัยเพิ่มเติมว่ามีความผิดปกติของเส้นประสาทกล้ามเนื้อตา หรือ เส้นประสาทสมองเส้นที่ 3 (Oculomotor nerve) หรือไม่ โดยการทำ CT scan, MRI หรือ MRA
ผ่าตัดรักษาตาปรือ คืออะไร?
การผ่าตัดแก้ไขตาปรือ คือ การผ่าตัดลึกลงไปถึงชั้นกล้ามเนื้อที่ใช้ในการลืมตาให้เปิดมากที่สุด ยกกล้ามเนื้อตาให้ได้รูป รวมทั้งกำหนดชั้นตาขึ้นมาใหม่เพื่อให้ได้ชั้นตาที่สวยเข้ากับรูปหน้า ซึ่งจะต่างจากการผ่าตัดทำสองชั้นที่เป็นเพียงการผ่าตัดเพื่อสร้างชั้นตาขึ้นใหม่เท่านั้น การผ่าตัดแก้ไขตาปรือเหมือนคนง่วงนอนจึงมีวิธีการที่ซับซ้อน ต้องทำโดยแพทย์ผู้ชำนาญการ
ผ่าตัดรักษาตาปรือ ดียังไง
ข้อดีของการผ่าตัดรักษาตาปรือ ได้แก่
ช่วยเสริมสร้างบุคลิกภาพ เพิ่มความมั่นใจ ทำให้ใบหน้าดูสดใส ดวงตากลมโต เปิดกว้าง ดูไม่ง่วง ไม่อ่อนล้า
ช่วยลดอายุ ทำให้แลดูอ่อนกว่าวัย
เมื่อดวงตาเปิดมากขึ้น เปลือกตาไม่ตกลงมาปิดตาดำ จะทำให้มองเห็นภาพได้ชัดเจนมากขึ้น
ไม่ต้องเงยหน้า หรือเลิกคิ้วเพื่อให้มองเห็นชัดเจน ช่วยป้องกันหน้าผากย่น มีริ้วรอย
แก้ปัญหาดวงตาสองข้าง และคิ้ว ไม่เท่ากัน ทำให้ใบหน้าโดยรวมดูสวยได้รูปยิ่งขึ้น
สำหรับผู้ที่ชื่นชอบการแต่งดวงตา เมื่อดวงตาทั้งสองข้างเปิด และเท่ากัน ช่วยทำให้การแต่งตาง่ายขึ้น
ดูแลตัวเองก่อนผ่าตัดรักษาตาปรือ
ก่อนเข้ารับการผ่าตัดแก้ไขตาปรือ มีขั้นตอนการดูแลตัวเอง ดังนี้
หากทานยา วิตามิน อาหารเสริมที่ส่งผลลดการแข็งตัวของเลือด เช่น Aspirin, Ibuprofen, คอลลาเจน น้ำมันตับปลา ควรหยุดกินก่อนการผ่าตัดอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ยกเว้นยารักษาโรคประจำตัวที่จำเป็นต้องกินอย่างสม่ำเสมอ ควรปรึกษาแพทย์ก่อน
แจ้งประวัติโรคประจำตัว การแพ้ยา รวมทั้งยารักษาโรคให้แพทย์ทราบอย่างละเอียด
สระผมให้เรียบร้อยก่อนวันผ่าตัด เนื่องจากหลังผ่าตัดต้องงดกิจกรรมที่ทำให้แผลโดนน้ำ
เตรียมแว่นกันแดด อุปกรณ์ป้องกัน มาในวันที่ผ่าตัดเพื่อป้องกันแสงแดด และฝุ่นละอองต่างๆ
หากต้องใส่คอนแทคเลนส์สายตา ให้เตรียมแว่นสายตามาด้วย เนื่องจากหลังผ่าตัดควรงดเว้นการใส่คอนแทคเลนส์
การผ่าตัดรักษาตาปรือ ทำได้ยังไงบ้าง
วิธีการผ่าตัดรักษาตาปรือ ปกติแล้วสามารถทำได้หลายแบบ ขึ้นอยู่กับผลลัพธ์ที่ผู้เข้ารับบริการต้องการ ความถนัดของแพทย์ และความเหมาะสม โดยวิธีการผ่าตัดรักษาตาปรือที่ได้รับความนิยม มีด้วยกัน 3 แบบ ดังนี้
การผ่าตัดแบบแผลด้านนอกเปลือกตา (Levator Surgery) เป็นการผ่าตัดกรีดกล้ามเนื้อด้านนอกเปลือกตา โดยเปิดจากหัวตายาวไปจนถึงหางตา เพื่อดึงกล้ามเนื้อตาให้ทำงานได้ดีเหมือนเคย เหมาะกับเคสตาปรือ หนังตาตกมาก หรือเคสที่เคยผ่าตัดตาสองชั้นมาก่อน
การผ่าตัดแบบแผลด้านในเปลือกตา (Mullerectomy) เป็นการผ่าตัดจากด้านในของเปลือกตา ไม่ทิ้งรอยแผลเป็นให้เห็น เหมาะกับคนที่ตาปรือไม่มาก กล้ามเนื้อตายังพอมีแรงอยู่
การผ่าตัดแบบใช้กล้ามเนื้อหน้าผากดึงเปลือกตา (Frontalis Sling) เป็นการนำเอ็นหุ้มกล้ามเนื้อส่วนต้นขามาดึงเปลือกตาขึ้น แทนการใช้วัสดุสังเคราะห์ เหมาะกับเคสที่ตาปรือเพราะเปลือกตาไม่มีแรงเหลือ แต่ต้องอาศัยความชำรนาญของแพทย์เฉพาะทางในการผ่าตัด
ดูแลตัวเองหลังผ่าตัดรักษาตาปรือ
หลังจากการผ่าตัดแก้ตาง่วงนอนเรียบร้อยแล้ว เพื่อให้การผ่าตัดได้ผลเป็นที่น่าพอใจ และปราศจากอาการข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ ควรดูแลตัวเองด้วยวิธีการที่เหมาะสม ดังนี้
ประคบเย็นเบาๆ ด้วยเจลประคบเย็น บริเวณรอบดวงตา หน้าผาก หน้าแก้ม อย่างน้อย 72 ชั่วโมง เพื่อให้หลอดเลือดหดตัว ช่วยลดอาการเลือดออก และลดบวม
3-5 วันหลังการผ่าตัดเปลี่ยนมาประคบร้อน เพื่อช่วยลดอาการเขียวช้ำ
ห้ามแผลโดนน้ำอย่างเด็ดขาดอย่างน้อย 7 วันหลังการผ่าตัด เพราะจะทำให้แผลแห้งช้า และเกิดการติดเชื้อและอักเสบได้
หลังการผ่าตัดอย่างน้อย 7 วัน ควรงดเว้นกิจกรรมที่ต้องใช้สายตา ควรพักผ่อนสายตาให้เพียงพอ
งดกินอาหารรสจัด ของแสลงต่างๆ อาหารหมักดอง อาหารทะเล ปลาร้า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อย 1 เดือน
งดเว้นการแกะ เกา ขยี้ตา กระทบกระเทือนตา ไอหรือจามอย่างรุนแรง เพราะอาจทำให้ไหมเย็บหลุด แผลปริแยกได้
ทำความสะอาดแผลเย็บ โดยใช้ไม่พันสำลีชุบน้ำเกลือเช็ดเบาๆ และทายาขี้ผึ้งบางๆ เช้า-เย็น
กินยาให้ครบตามแพทย์สั่ง และไปพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ
ทำไมต้องผ่าตัดรักษาตาปรือที่ เศาณานนท์คลินิก (Saonanon Clinic)
ต้องการแก้ไขปัญหาตาปรือ ตาง่วงนอน ทำตาสองชั้น ให้ได้ผลลัพธ์ที่สวยดังใจ เข้ามาปรึกษาที่ เศาณานนท์คลินิก (Saonanon Clinic) ได้
ศัลยกรรมตาสองชั้นโดยแพทย์เฉพาะทาง ที่มีใบประกอบวิชาชีพอย่างถูกต้องตามกฎหมาย มีความชำนาญด้านการผ่าตัดเปลือกตาทั้งวัตถุประสงค์เพื่อเสริมความงาม การรักษาโรคเกี่ยวกับดวงตา รวมทั้งการศัลยกรรมตาง่วงได้เป็นอย่างดี
แพทย์มีประสบการณ์ในการทำตาสองชั้น และ แก้ไขปัญหากล้ามเนื้อเปิดตา มาหลายเคส และใส่ใจรายละเอียดในทุกขั้นตอน จึงสามารถประเมินปัญหาของดวงตา เพื่อออกแบบวิธีแก้ตาปรืออย่างถูกต้อง และตรงจุด อีกทั้งยังออกแบบชั้นตาใหม่ให้สวยรับกับใบหน้าของคนไข้แต่ละคน และแลดูเป็นธรรมชาติ
ใช้อุปกรณ์ และเครื่องมือทางการแพทย์ที่มีมาตรฐาน ทันสมัย
ให้ความสำคัญในเรื่องของความสะอาด และความปลอดภัย ห้องทำหัตถการสะอาด แยกออกมาอย่างเป็นสัดส่วน
สรุป
ตาปรือ หรือตาง่วงนอน คือ อาการที่หนังตาด้านบนตกลงมา โดยอาจหย่อนลงมาเพียงเล็กน้อย หรือตกลงมามากจนปิดตาดำ สามารถพบอาการตาปรือได้ทั้งสองข้าง หรือเพียงข้างเดียวก็ได้ ผู้ที่มีดวงตาปรือ จะมีใบหน้าที่ดูเหมือนง่วงนอนตลอดเวลา หน้าตาไม่สดใส ดวงตาดูเล็ก หน้าดูแก่กว่าวัย ตาปรือเกิดขึ้นมาได้จากหลายสาเหตุทั้งจากพันธุกรรม อายุ การเกิดอุบัติเหตุ โรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง รวมไปถึงการทำพฤติกรรมที่เป็นการทำร้ายดวงตาเป็นประจำ อาการตาปรือหากปล่อยทิ้งไว้นานไม่ทำการรักษาอาจก่อให้เกิดปัญหาอย่างอื่นตามมาได้เช่น สายตาเอียง ตาขี้เกียจ เป็นต้น ตาปรือสามารถรักษาได้โดยการผ่าตัดซึ่งมีข้อดีหลายอย่าง เช่น ทำให้การมองเห็นชัดขึ้น ใบหน้าดูสดใส อ่อนกว่าวัย ดวงตา และคิ้วสองข้างเท่ากัน แต่งหน้าได้ง่ายขึ้น เป็นต้น
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับตาปรือ (FAQ)
เมื่อรู้แล้วว่าตาปรือคืออะไร มีสาเหตุเกิดจากอะไร และสามารถรักษาด้วยวิธีการไหนแล้ว เพื่อให้เข้าใจมากขึ้น จึงได้รวบรวมเอาคำถามที่พบได้บ่อยมาเพื่อตอบข้อข้องใจ ดังนี้
ผ่าตัดรักษาตาปรือ ราคาเท่าไร
ราคาผ่าตัดรักษาตาปรือจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสภาพผิว และปัญหาที่ต้องแก้ไของคนไข้แต่ละคนซึ่งแตกต่างกัน ต้องให้แพทย์ทำการประเมินอาการก่อน
ผ่าตัดรักษาตาปรือ กี่วันหาย
5 วันแรกหลังการผ่าตัด จะมีอาการบวมช้ำรอบบริเวณที่ผ่าตัด 1-2 สัปดาห์ อาการบวมช้ำจะค่อยดีๆ ขึ้น และ 3-6 เดือน จะไม่มีอาการบวมช้ำให้เห็น แผลผ่าตัดค่อยๆดีขึ้น ชั้นตาเริ่มเข้ารูป
เป็นเบาหวาน ผ่าตัดรักษาตาปรือได้ไหม
ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน โรคมะเร็งบริเวณใบหน้า และรอบดวงตา โรคฮอร์เนอร์ โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคหลอดเลือดสมอง มีอาการตาบวมอักเสบ เช่น เป็นตากุ้งยิง ไม่สามารถผ่าตัดรักษาตาปรือได้
Comments